ผักเชียงดาใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า ๒๐๐๐ ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ Gymnemic acid ซึ่งสกัดมาจากรากและใบของผักเชียงดาซึ่งมีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลรีเซพเตอร์ในลำไส้ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล The U.S. National Library of Medicine (NLM) and the National Institutes of Health (NIH) พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าผักเชียงดาสามารถที่จะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน (type ๑) และไม่พึ่งอินซูลิน (type ๒) ได้เมื่อให้ร่วมกันอินซูลินและยารักษาเบาหวานอื่นๆและยังมีรายงานว่ามีบางรายใช้ผักเชียงดาตัวเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องพึงยาแผนปัจจุบัน
แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบของผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ซึ่งในหนึ่งแคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัมการศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒กรัมของผงแห้งต่อวัน โดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้ง
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี ๑๙๒๖และในปี ๑๙๘๑มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนอาสาสมัครที่แข็งแรงซึ่งพบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน)ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type ๑ และ type ๒ตั้งแต่ในปี ๑๙๙๐ เป็นต้นมา มีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพกลไกออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมายยกตัวอย่างเช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยมาดราส ในประเทศอินเดียศึกษาผลของผักเชียงดาในหนู โดยให้สารพิษที่ทำลายเบต้าเซลในตับอ่อนของหนูพบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลเพิ่มขึ้น
ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบันในบางรายถึงกับสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดนอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของ hemoglobin A1C ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง ๒-๔เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดีซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน)และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวานนอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณของ hemoglobin A1C ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วยนอกจากนี้ยังมีการศึกษาการพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี ๑๙๙๗ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาไปยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
ในปี ๒๐๐๑ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (Pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-Activity Relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสารสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GIA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมาวิธีการนี้ช่วยให้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและในปริมาณสูงช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก
ในปี ๒๐๐๓ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้วยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วยทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอีในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วยและยังพบว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานชื่อ glibenclamide
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด “สำหรับท่านที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าทั้งสองโรคนี้ไม่หายขาดแต่ท่านสามารถมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้เช่นเดียวกับคนทั่วไปเพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลหรือระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติสม่ำเสมออาจจะใช้ยาแผนปัจจุบันหรือใช้สมุนไพรหรือใช้ทั้งยาแผนปัจจุบันและสมุนไพรก็ได้…”